วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

ใบความรู้ 3 ข้อมูล/สารสนเทศ และระบบสารสนเทศ

ข้อมูล/สารสนเทศ และระบบสารสนเทศ

ข้อมูล (Data) หมาย ถึง ข้อเท็จจริง ที่เกิดจากการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ข้อมูลดิบ (Raw data) ซึ่งข้อมูลดิบนั้นจะเป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผลใด ๆ และยังไม่สามารถใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ ซึ่งข้อมูลหรือข้อมูลดิบ (Row Data) อาจจะอยู่ในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ หรือเสียง เป็นต้น
                         สารสนเทศ (Information) หมาย ถึง การนำข้อมุลที่รวบรวมได้จากการกระทำของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มาประมวลผลด้วยวิธีการใด ๆ ที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการและถูกต้องซึ่งผลลัพธ์นั้นเรียกว่า สารสนเทศ (Information) ยกตัวอย่างเช่น การนำคะแนนเก็บในแต่ละครั้งของวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบมาประมวลผลด้วย มือหรือประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถทำให้ทราบว่านักศึกษาคนใดได้เกรด เท่าไหร่ เกรดจึงถือได้ว่าเป็นสารสนเทศของการเรียนวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบ



 ทั้ง นี้สารสนเทศของสิ่งใดสิ่งหนึ่งอาจใช้เป็นข้อมูลในการหาสารสนเทศอื่นอื่นก็ ได้  เช่น  เกรดของวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบ จะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการคำนวณหาเกรดเฉลี่ยสะสมของเทอมที่เรียน ดังนั้น จึงถือได้ว่า เกรดเป็นข้อมูล และเกรดเฉลี่ยสะสมเป็นสารสนเทศ เป็นต้น


เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาผสมผสานกับเทคโนโลยีการสื่้อสาร เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ ซึ่งสารสนเทศที่ได้อาจจะอยู่ในรูปแบบของข้อความ ตัวเลข รูปาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นต้น   
      ระบบสารสนเทศ (Information System) 
      ระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่ใช้ประมวลผลข้อมูลด้วยวิธีการใดๆเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ ต้องการซึ่งในปัจจุบันธุรกิจหรือองค์การต่างๆส่วนใหญ่ได้นำเทคโนโลยี สารสนเทศเข้ามาช่วยในกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ ทั้งนี้เพื่อให้ได้สารสนเทสที่ถูกต้อง รวดเร็วทันต่อการใช้งาน
                 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการจัดการกับระบบ สารสนเทศ เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูล และค้นคืนสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว องค์ประกอบของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วน คือ
        1.  ข้อมูลดิบ (Data)
        2.  บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (People)
        3.  กระบวนการทำงาน (Procedures)
        4.  ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
        5.  ซอฟต์แวร์ (Software)



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบสารสนเทศ


ข้อมูล/สารสนเทศ และระบบสารสนเทศ

ใบความรู้ที่ 2 ระบบงานธุรกิจ

       
                    ระบบธุรกิจ หมายถึง องค์การใด ๆ ที่ก่อตั้งขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อแสวงหาผลกำไร      เป็นสำคัญ ซึ่งองค์การดังกล่าว อาจอยู่ในรูปแบบของกิจการเจ้าของคนเดียว บริษัท ห้างหุ้นส่วนสามัญ  หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เป็นต้น
                    ธุรกิจสามารถแบ่งตามลักษณะการดำเนินงาน ได้ 3 ประเภท ดังนี้
                    1. การพาณิชย์ (Commerce)หมายถึง ธุรกิจที่ดำเนินการด้านการในประเภทการซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน เช่น การค้าปลีก การค้าส่ง ตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น
                    2. การอุตสาหกรรม  (Industry) หมายถึง ธุรกิจที่ดำเนินการด้านการผลิต เช่น อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องจักร อุตสาหกรรมเคมี และอุตสาหกรรมสินค้าสำเร็จรูป เป็นต้น
                    3. การบริการ (Services) หมายถึง ธุรกิจที่ดำเนินการให้บริการแก่ลูกค้า สินค้าไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ไม่มีตัวตน และไม่สามารถคืนได้ เช่น โรงภาพยนต์ การท่องเที่ยว การโรงแรม ร้านเสริมสวย เป็นต้น

                    กรณีศึกษาระบบงานธุรกิจของร้านค้าแห่งหนึ่ง
           ร้านค้าแห่งนี้เป็นร้านค้าขนาดเล็ก จำหน่ายสินค้าประเภทขนม เครื่องดื่ม ของใช้ในชีวิตประจำวัน และสินค้าเบ็ดเตล็ดให้กับลูกค้าทั่วไป ซึ่งมีรายละเอียดการดำเนินการธุรกิจดังนี้





โครงสร้างธุรกิจ
                     
                       1. ขั้นตอนการสั่งซื้อสินค้า
                           การสั่งซื้อสินค้าเป็นขั้นตอนแรกในการดำเนินธุรกิจด้านการขาย เพราะไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่เปิดกิจการใหม่หรือดำเนินกิจการมาแล้วหลายปี ก่อนที่จะดำเนินการขายสินค้า แน่นอนจะต้องมีสินค้าเพื่อขายในร้าน ซึ่งถ้าเป็นกรณีไม่ใช่เปิดกิจการใหม่ ทุก ๆ วันจะต้องตรวจนับสินค้าในสต็อกสินค้าว่าสินค้าแต่ละประเภทแต่ละยี่ห้อมี จำนวนคงเหลือเท่าไหร่ ถ้าสินค้าใดหมดหรือมีจำนวนเหลือน้อย ก็จะทำใบสั่งซื้อไปยังผู้จำหน่ายเพื่อสั่งซื้อสินค้า ตามตัวอย่างดังรูป

                 



                       เมื่อผู้จำหน่ายสินค้าได้รับใบสั่งซื้อสินค้า ก็จะส่งสินค้าพร้อมใบส่งของมาให้ เมื่อทางร้านได้รับสินค้าแล้วจะต้องตรวจนับสินค้าว่าตรงตามใบสั่งหรือไม่ ถ้ามีจำนวนสินค้าไม่ครบหรือมีสินค้าที่ไม่ตรงตามใบสั่งซื้อ ก็จะแจ้งไปให้ผู้จำหน่ายสินค้าทราบ แต่ถ้าสินค้าครบตามจำนวนก็จะเก็บเข้าร้านเพื่อขายต่อไป ตามผังงานดังรูป




                 2. ขั้นตอนการขายสินค้า
เมื่อมีสินค้าเพื่อขายแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการขายสินค้า ซึ่งการขายสินค้าในร้านสะดวกซื้อทั่วไปจะขายเฉพาะเงินสด และทุกครั้งที่ขายสินค้าจะออกใบเสร็จให้กับลูกค้า



                   3. การจัดทำบัญชี
                       ปกติการจัดทำบัญชีจะต้องจัดทำเป็นประจำ เช่น การลงบันทึกการขายสินค้าในแต่ละวันหรือการบันทึกการสั่งซื้อสินค้าแต่ละ ครั้ง แต่การจัดทำบัญชีดังกล่าวยังไม่สามารถสรุปผลการดำเนินงานได้ ดังนั้นเมื่อสิ้นเดือบนเจ้าของกิจการจะจัดทำบัญชีต่าง ๆ เช่น รายงานกำไร/ขาดทุน รายงานสินค้าขายดี รายงานสินค้าคงเหลือ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อจะเป็นข้อมูลในการบริหารธุรกิจต่อไป 

                        ตัวอย่างการจัดทำรายงานกำไร/ขาดทุน
                        การจัดทำรายงานกำไร/ขาดทุน จะตรวจสอบการขายสินค้าทั้งหมดของเดือนนั้น ๆ ว่า ได้เงินเท่าไหร่ (รายรับ) และตรวจสอบรายจ่าย จากการซื้อสินค้าและรายจ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าขนส่งสินค้า เงินเดือนพนักงาน เป็นต้น จากนั้นนำมาคำนวณหากำไร/ขาดทุน ดังนี้ กำไร/ขาดทุน = รายรับ - รายจ่าย

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

ใบความรู้ที่ 9 คำอธิบายการะประมวลผล (Process Description) คำอธิบายการะประมวลผล (Process Description)

แนวคิด

         การอธิบายการประมวลผลการทำงานของแผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram : DFD) แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบภาษาธรรมชาติ(Natural Language specification) และแบบภาษาสคริปต์ (Scripting) แบ่งออกเป็น 3 ภาษา คือ  Structured english Logic, Decision Table และ Decision Tree ภาษา Structured English Logic จะช่วยในการอธิบายการทำงานแบบดครงสร้างภาษา ทั้งนี้ลักษณะการทำงานของ Structured English Logic จะคล้ายกับอัลกอริทึม และใช้เครื่องมือ Decision Table และ Becision Tree ในการอธิบายการทำงานแบบมีเงื่อนไขการตัดสินใจ เพื่อเพิ่มความเข้าใจในหลักการทำงานมากขึ้น

สาระการเรียนรู้
    1. การอธิบายโดยภาษาธรรมชาติ
    2. ความหมายของ Structured English Logic
    3. ความหมายของสัญลักษณ์ Decision Tree
    4. ความหมายของ Decision Table
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
     1. สามารถอธิบายการทำงานในรูปแบบภาษาธรรมชาติได้
     2. สามารถบอกความหมายของ  Structured English Logic ได้
     3. สามารถบอกความหมายได้ Decision Tree ได้
     4. สามารถบอกความหมายของ Decision Table ได้
         การอธิบายโดยธรรมชาติ
         การอธิบายการทำงานของ DFD แต่ละระดับ จะช่วยให้เข้าใจกระบวนการทำงานของระบบมากยิ่งขึ้น ซึ่งการอธิบายกระประมาวลผล การทำงานนั้นสามารถทำได้ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบภาษาธรรมชาติ และรูปแบบภาษาสคริปต์ ซึ่งรูปแบบภาษาธรรมชาติเหมาะกับการอธิบาย  DFD level 1 ส่วนภาษาคริปต์เหมาะกับการอธิบาย DFD level 2 ซึ่งจะเป็นการอธิบายในรูปแบบของอังกอริทึมและการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นต้น
         คำอธิบายการประมวลผล ( Process Description )
         จากการเขียนแผนภาพกระแสข้อมูลตามบทที่ 3 จะสังเกตเห็นว่าเป็นการยากที่จะเข้าใจกระบวนการทำงานของระบบ เนื่องจากทราบเฉพาะหลักการทำงานของระบบตามจินตนาการ ดังนั้นเพื่อให้เข้าใจกระบวนการทำงานของระบบจึงจำเป็นต้น มีการอธิบายการทำงานของแต่ละ  Process มีว่าหลักการทำงานอย่างไร ซึ่งสามารถอธิบายได้ ทั้งแบบภาษาธรรมชาติและภาษาสคริปต์
         ภาษาธรรมชาติ ( Natural Language secification )
         การอธิบายด้วยภาษาธรรมชาติ จะเป็นการอธิบายด้วยภาษาระดับสูง คือเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด โดยจะแบ่งกันทำงานออกเป็นส่วน จากนั้นจะอธิบายเป็นข้อความเพื่อให้เข้าใจการทำงานของProcess นั้น ยกตัวอย่างเช่น 







แสดงแผนภาพกระแสข้อมูลระดับ 1  DFD level 1 ของร้านขายสินค้ารักไทยตามหน่วยที่ 3








แสดงแผนภาพกระแสข้อมูลระดับ 2 DFD level 2 ของร้านขายสินค้ารักไทยตามหน่วยที่ 3