วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ใบความรู้ 5 ชนิดของระบบสารสนเทศ

ชนิดของระบบสารสนเทศ

1.ระบบประมวลผลรายการประจำวัน (Transaction Processing Systems : TPS)
เป็นการประมวลผลข้อมูลในธุรกิจประจำวันหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าระบบ ปฏิบัติงาน(Operational Systems) เช่น การบันทึกการขายสินค้าให้กับลูกค้าแต่ละคน ในแต่ละวัน ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการทำงานจะเก็บบันทึกไว้ เพื่อใช้ดำเนินการอื่น ๆ ต่อไป


2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems : MIS)
เนื่ิองจากคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้มากกว่า การจัดเก็บข้อมูล การค้นหาข้อมูล ตามระบบการประมวลรายการประจำวัน ดังนั้นสารสนเทศเพื่อการจัดการจึงเป็นระบบที่นำข้อมูลที่ได้จากระบบประมวล รายการประจำวัน มาคำนวหรือเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ เช่น รายงานรายได้ รายงานสินค้าขายดี เป็นต้น ทั้งนี้อาจจัดทำในรูปแบบรายงานให้เป็นแบบข้อมูล หรือกราฟก็ได้
3. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Information System/Office Automation System : OIS/OAS)
เป็นระบบที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยดปรแกรมสำเร็จรูปต่าง เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมตารางงาน โปรแกรมนำเสนอข้อมูล โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ เป็นต้น บางระบบได้นำโปรแกรมที่สามารถ Create , Store , Modify, Display ข้อมูลและสารสนเทศที่ต้องการได้ และติดต่อระหว่างธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร เข้ามาช่วย
4.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems : DSS )
เป็นระบบที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริหารซึ่งจะนำข้อมูลหรือสารสนเทสจาก ระบบการประมวลรายการประจำ (TPS) และระบบสารสนเทสเพื่อการจัดการ (MIS) มาปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขเพื่อให้ได้สารสนเทศทางสถิติที่ต้องการซึ่งอาจนำ ข้อมูลภายนอกมาประกอบการพิจารณาในแต่ละทางเลือกเพื่อให้ได้ทางเลือกที่ดีสุด เช่น การนำข้อมูลราคาผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งมาประกอบเป็นต้น
5. ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง (Executive Support : ESS)
เป็นระบบที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริหารระดับสูงซึ่งส่วนใหย่การตัดสินใจของผู้บริหารจะเป็นการตัดสินใจแบบเชิงกลยุทธ์และเชิงนโยบาย และมักเป็นแบบไม่เป็นโครงสร้าง ดังนั้นสารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการจะต้องค้นคืนได้จากระบบงานของตนเองและจากแหล่งข้อมูลภายนอก เช่น ราคาหุ้น หรือแนวโน้มของเศรษฐกิจ เป็นต้น
6. ระบบผู้เชี่ยวชาญ(Expert System : ES)
ระบบผู้เชี่ยวชาญ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบฐานความรู้ (Knowledge Base) ซึ่งจัดเป็นสาขาหนึ่งของระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence : Al) เป็นระบบที่ให้คอมพิวเตอร์คิดเอง โดยสามารถรับรู้ถึงเหตุผลและเข้าใจ เช่นเดียวกับมนุษย์ทั้งนี้ระบบกล่าวมนุษย์จะเป็นคนเขียนเงื่อนไขหรือการ คำนวณที่ซับบซ้อน สั่งงานให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดเองได้ และระบบผู้เชียวชาญยังหมายถึงระบบที่ใช้รวบรวมความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในสาขา ใดสาขาหนึ่งของผู้เชียวชาญนั้นไว้ จากนั้นนำหลักการและประสบการณ์ผู้เชียวชาญนั้นมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ใน ด้านนั้น ๆ เช่น การวิเคราะห์ทางการเงิน การวิเคราะห์ทางการแพทย์ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น